Friday, November 6, 2015

โลกจารึก นักวิจัยงูถูกงูพิษกัดแต่ไม่หาหมอ เดินหน้าบันทึกอาการตัวเองจนตาย




           โลกต้องจารึกชื่อเขาไว้ ดร.คาร์ล พี ชมิดต์ นักวิจัยผู้สละชีพตนเพื่อบันทึกอาการหลังถูกงูพิษกัด ตัดใจไม่ไปหาหมอ บันทึกอาการตัวเองจนวาระสุดท้าย ให้เป็นข้อมูลแก่คนข้างหลังได้ศึกษากันต่อไป

            ถ้าเอ่ยถึงอสรพิษอย่างงูแล้ว หลายคนคงอกสั่นขวัญแขวนไม่น้อยแม้เพียงแค่ได้ยินชื่อของพวกมัน แต่โชคดีที่ยุคสมัยนี้ การแพทย์นั้นเจริญก้าวหน้าไปมาก มีเซรุ่มแก้พิษงูหลากหลายให้คนไข้ที่ตกเป็นเหยื่อการโจมตีสามารถนำมาใช้ รักษาได้ ทำให้มนุษย์เบาใจขึ้นเยอะ

            แต่กับยอดนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานอย่าง ดร.คาร์ล พี ชมิดต์ นั้นไม่มีโอกาสได้ใช้เซรุ่มแก้พิษเหมือนเราในยุคนี้ เขาถูกงูพิษตัวยาวราว 30 นิ้วกัดเข้าเต็มเปา แน่นอนว่าเจ้างูนี้เป็นงูแปลกหน้าที่ยังไม่ได้รับการระบุตัวตน ดังนั้นจึงไม่มียาแก้พิษงูให้ ดร.ชมิดต์ ได้ใช้ แต่แทนที่เขาจะอยู่เฉย ๆ เพื่อรอความตาย เขากลับทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น


               ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น วันที่ 25 กันยายน 2500 ดร.ชมิดต์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านงูและสัตว์เลื้อยคลานแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติ ศาสตร์ธรรมชาติชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา กำลังตรวจสอบและศึกษางูสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกส่งตัวมาจากสวนสัตว์ลินคอล์นพา ร์ก เพื่อให้ยืนยันว่ามันเป็นงูชนิดใดกันแน่ โดยมีข้อมูลเพียงแค่ว่าจับมันมาได้จากแอฟริกา ด้าน ดร.ชมิดต์ เชื่อว่า มันน่าจะเป็นงูพิษบูมสแลง เพราะดูจากองค์ประกอบทั่วไปอย่างเกล็ด หัว สีสัน และเขี้ยว


           แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ดร.ชมิดต์ ถูกงูพิษความยาว 30 นิ้วตัวนี้กัดเข้าที่มือข้างซ้ายจมเขี้ยว แต่แทนที่เขาจะไปหาหมอเพื่อรักษาอาการจากพิษอย่างทันท่วงที เขากลับหยิบสมุดและปากกาขึ้นมาเพื่อบันทึกอาการหลังถูกงูกัด โดยบันทึกการถูกงูกัดของ ดร.ชมิดต์ มีดังนี้...



หน้าที่ 1 วันที่ 25 กันยายน 2500

            งูพิษความยาว 30 นิ้วถูกนำตัวมาตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติชิคาโก มันถูกส่งตัวมาจากสวนสัตว์ลินคอล์นพาร์ก เนื่องจากไม่มีผู้เชี่ยวชาญในสวนสัตว์คนใดสามารถระบุชื่อของมันได้เลย ทราบเพียงแต่มันเป็นงูจากทวีปแอฟริกา และเมื่อสังเกตจากพฤติกรรม ลักษณะนิสัย รูปร่างของหัว การเรียงตัวของเกล็ด และสีสันสดใสของมันแล้ว ก็สามารถระบุได้ไม่ยากว่ามันน่าจะเป็นงูพิษบูมสแลง (Boomslang Snake หรือ Dispholidus typus)


               ขณะนั้นผมกำลังปรึกษากับผู้ช่วยว่ามันน่าจะเป็นงูบูมสแลง พร้อม ๆ กับที่ผมจับตัวมันอย่างไม่ทันระมัดระวัง มันจึงกัดผมเข้าที่มือซ้าย บริเวณข้อต่อแรกของนิ้วโป้ง เลือดไหลออกมาเยอะมาก ผมจึงดูดเอาพิษออกมาอย่างรวดเร็ว


               ปากของงูอ้ากว้างอย่างเหลือเชื่อ มันใช้เขี้ยวด้านหลังในการกัดและปล่อยพิษ  ส่วนเขี้ยวที่งับมือผมจนเลือดสาดคือเขี้ยวด้านหลังซี่ขวา มันงับผมลึกลงไปราว 3 มิลลิเมตร



หน้าที่ 2 วันที่ 25 กันยายน 2500

            เวลา 16.30-17.30 น. มีอาการคลื่นไส้อย่างแรง แต่ไม่มีการอาเจียนระหว่างเดินทางกลับบ้านโดยรถไฟ

            เวลา 17.30-18.30 น. มีอาการหนาวจนตัวสั่น ตามด้วยมีไข้ราว 38 องศาเซลเซียส มีเลือดออกตามไรฟันและเหงือก

            เวลา 20.30 น. รับประทานขนมปังปิ้งจุ่มนม 2 แผ่น


           เวลา 21.00-24.20 น. หลับสบายดี ลุกมาปัสสาวะตอนเวลา 24.20 น. มีอาการฉี่เป็นเลือดแต่ไม่มาก

            เวลา 04.30 น. ดื่มน้ำ 1 แก้ว ตามด้วยอาการคลื่นเหียนจนต้องอาเจียน พบว่าอาหารที่ทานไปเมื่อตอนเย็นนั้นไม่ย่อย รู้สึกดีขึ้นมากและหลับสนิทจนเวลา 06.30 น.



หน้าที่ 3 วันที่ 26 กันยายน 2550

            เวลา 06.30 น. อุณหภูมิร่างกาย 36.8 องศาเซลเซียส รับประทานซีเรียล ไข่ลวก ขนมปัง ซอสแอปเปิล และกาแฟดำเป็นอาหารเช้า ฉี่เป็นเลือด มีเลือดออกในปากและจมูกแต่ไม่มาก


จบการบันทึก

             หลังจากนั้น เป็นบันทึกจากแพทย์ผู้ดูแล ดร.ชมิดต์ ระบุว่า หลังเวลา 13.00 น. ดร.ชมิดต์ ได้โทรศัพท์หาภรรยาหลังรับประทานอาหารกลางวัน  ก่อนจะมีอาการอาเจียนอย่างหนัก เหงื่อออกมาก ไม่สามารถพูดคุยหรือตอบคำถามใด ๆ ได้ แพทย์จึงตัดสินใจนำ ดร.ชมิดต์ ส่งโรงพยาบาล ก่อนจะพบข่าวร้ายว่าเขาเสียชีวิตเมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 26 กันยายน ด้วยอาการกล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต


               พิษของงูบูมสแลงเพียง 0.0006 มิลลิกรัม สามารถฆ่านก 1 ตัวได้ภายในไม่กี่นาที แต่ ดร.ชมิดต์ ไม่ใช่นก พิษของงูบูมสแลงจึงทำร้ายเขาจนเสียชีวิตในเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อพิษของงูบูมสแลงเข้าสู่กระแสเลือด มันจะกระจายตัวไปทั่วหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย ทำให้เลือดของเหยื่อไหลออกจากร่างกายจนตายในที่สุด

            จากการชันสูตรพลิกศพ พบว่า ดร.ชมิดต์ มีเลือดไหลออกจากดวงตา ปอด ไต หัวใจ และสมอง จนกระทั่งเสียชีวิต

            คำถามที่ตามมาภายหลังการเสียชีวิตของ ดร.ชมิดต์ คือ ทำไมเขาจึงไม่พาตัวเองไปโรงพยาบาล ทั้ง ๆ ที่มีคนเตือนให้เขาไปพบแพทย์ แต่เขากลับบอกว่า “ไม่ไป เพราะยาต้านพิษจะรบกวนอาการที่กำลังศึกษา”


             อันที่จริงแล้วไม่ใช่ความดื้อแพ่ง หรืออยากรู้อยากเห็นของนักวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่ ดร.ชมิดต์ รู้ดีว่า เซรุ่มรักษาพิษงูบูมสแลงนั้นมีจำหน่ายแค่ในประเทศแอฟริกาเท่านั้น ในอเมริกายังไม่มีใช้อย่างแพร่หลาย

            ฉะนั้น ดร.ชมิดต์ จึงไม่ยอมอยู่เฉย ๆ แล้วตายไป เขายอมสละชีวิตของตนให้กับการบันทึกอาการต่าง ๆ ที่จะตามมาหลังถูกงูมีพิษกัด เพื่อเป็นความรู้แก่คนรุ่นหลังสืบต่อไปนั่นเอง ช่างเป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็งจริง ๆ

ภาพจาก SciFri
ขอบคุณข้อมูลจาก
viralnova, SciFri  
http://hilight.kapook.com/view/128778

No comments:

Post a Comment